ริ้วรอยแห่งวัยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เร่งทำให้ริ้วรอยนั้นเกิดเร็วขึ้นและชัดเจนมากขึ้น เช่น รังสี UV จากแสงอาทิตย์ มลพิษจากสภาวะแวดล้อม และระดับโอโซนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอยเนื่องจากชั้นเซลล์ผิวถูกทำลาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง นอกจากนั้นยังมีสาเหตุที่เกิดจากอาหารที่รับประทานและลักษณะนิสัยการดำเนินชีวิต ที่ทำให้การซ่อมแซมผิวหนังตามธรรมชาติและระบบการต่อต้านอนุมูลอิสระของร่างกายเสียสมดุล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวร่วมกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เข้ามาช่วยในการบำรุงสุขภาพผิวของเราในระยะยาว
คนทั่วไปจะรู้จักสารแคโรทีนอยด์ที่ชื่อว่าเบตา-แคโรทีน (โปรวิตามิน A) และวิตามิน E เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าสารแคโรทีนอยด์ที่ชื่อว่า Astaxanthin ซึ่งผลิตได้จากไมโครแอลจีที่มีชื่อว่า Haematococcus pluvialis ว่ามีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าเบตา-แคโรทีน (โปรวิตามิน A) และวิตามิน E (Miki, 1991)
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้ Astaxanthin ที่อยู่ในรูปของเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเวลา 4 ถึง 6 สัปดาห์จะมีริ้วรอยแห่งวัยที่เกิดจากรังสี UV ลดลง ดังนั้นจึงสรุปว่า Astaxanthin มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงผิวทำให้ผิวดูอ่อนกว่าวัย ช่วยลบเลือนริ้วรอย และสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังจากรังสี UV ได้
ตารางแสดงประโยชน์ของ Astaxanthin ดูแลรักษาสุขภาพผิวได้หลายวิธีดังนี้
ประโยชน์ | กระบวนการ | เครื่องสำอาง | รับประทาน | ||||
1. เพิ่มความสามารถของผิว ในการปกป้องสารที่จำเป็น สำหรับผิว | ฟื้นฟูสมดุล ของสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ตามธรรมชาติ (SOD, CAT, GSH) ป้องกันการเกิด lipid peroxidation | / | / | ||||
2. ลดรอยผื่นแดง | ยับยั้งกระบวนการอักเสบ | / | / | ||||
3. ปกป้อง และลดริ้วรอย ที่เกิดจากรังสี UV
|
ปกป้องเซลล์ผิวจากสารอนุมูลอิสระ ทำให้กระบวนการซ่อมแซมผิวชั้นคอลลาเจนเป็นไปอย่างปกติ | / | / |
สุขภาพผิวที่ดีจากการรับประทานอาหาร
“สวยจากภายใน” หรือการบำรุงผิวด้วยโภชนาการและอาหารเสริม เป็นแนวโน้มที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น
จากการวิจัย(Yamashita 2002) โดยทำการทดลองกับผู้หญิงจำนวน 8 คนที่มีผิวแห้ง (อายุเฉลี่ย 40 ปี) ทานอาหารเสริมที่มี Astaxanthin 2 มิลลิกรัม และ tocotrienol ธรรมชาติ (Super vitamin E) 40 มิลลิกรัมเป็นประจำทุกวัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 และนำไปเปรียบเทียบกับค่าเริ่มต้นก่อนใช้ พบว่าความแตกต่างสามารถวัดได้ภายใน 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ทดลองที่มีผิวแห้งมีการปรับปรุงสภาพผิวดังนี้: ระดับความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น (P<0.05) ,ปริมาณน้ำมันตามธรรมชาติที่ผิวคงที่ และริ้วรอยลดลง และ พบว่าสิวเสี้ยนน้อยลง (P<0.01)
รูปที่ 1 อาหารเสริมเพื่อความงามมีผลช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวบริเวณแก้มและตา (Yamashita, 2002)
รูปที่ 2 ภาพขยายของผิวหนังเมื่อเริ่มต้นทดลอง, สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4
(Yamashita, 2002)
จากภาพจะเห็นได้ชัดว่าริ้วรอยมีการลดลงอย่างชัดเจน
Yamashita (2006) ได้ทำการศึกษาทดลองผู้หญิงที่มีลักษณะผิวหลายรูปแบบจำนวน 49 คนอายุเฉลี่ย 47 ปี โดยได้รับ Astaxanthin 4 มิลลิกรัม (2x2 มิลลิกรัม) และยาหลอก หลังจากสัปดาห์ที่ 6 พบว่าผู้ที่รับประทาน Astaxanthin 4 มิลลิกรัมต่อวันมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นโดยการสอบถามข้อมูล (รูปที่ 3)
รูปที่ 3 ผลการสอบถามอาสาสมัคร หลังจากรับประทานอาหารเสริม Astaxanthin 6 สัปดาห์ จากการสอบถามอาสาสมัคร(Yamashita, 2006)
จากกราฟพบว่าผู้ที่ทานอาหารเสริมจะมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้น
การทดสอบสภาพผิวด้วยเครื่องมือ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมนั้นสุขภาพผิวดีขึ้นดังนี้ ความชุ่มชื้น (P<0.05) และความยืดหยุ่นของผิวดีขึ้น (P<0.05) นอกจากนี้การทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมจะมีริ้วรอยลดลง (P<0.05) และความยืดหยุ่นของผิวเพิ่มขึ้น (P<0.05) ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 3 และ 6 (รูปที่ 4) ซึ่งผลที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนเนื่องจากการฟื้นฟูผิวหนังจะเริ่มในสัปดาห์ที่ 4-5 และจะเพิ่มสูงสุดในสัปดาห์ที่ 6 ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า Astaxanthin สามารถช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพผิวได้
รูปที่ 4 แสดงการวิเคราะห์ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังในสัปดาห์ที่ 3 และ 6 ของการรับประทานอาหารเสริม Astaxanthin (Yamashita, 2006)
กลไกการทำงาน
ผิวหนังประกอบด้วยชั้นต่างๆ สามชั้นได้แก่ หนังกำพร้า, ผิวหนังแท้ และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ชั้นผิวหนังแท้ประกอบด้วยคอลลาเจน อิลาสติน และเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ค้ำจุนโครงสร้างของผิว และยังเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผิวหนังเรียบเนียนและดูอ่อนเยาว์ สามารถถูกทำลายได้ด้วยรังสี UV
การป้องกันริ้วรอย รังสี UV ที่ส่งผลกระทบกับผิวมีอยู่สองรูปแบบได้แก่ รังสี UVA และ UVB รังสี UVB นั้นมีความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสี UVA และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรอยไหม้ของผิวและการผลิตเม็ดสีเมลานิน แต่รังสี UVA ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าเป็นสาเหตุหลักของการแก่ก่อนวัย รังสี UVA นั้นทะลุทะลวงเข้าไปในชั้นหนังแท้ ทำลายเนื้อเยื่อคอลลาเจนทำให้เกิดริ้วรอย (รูปที่ 5)
รูปที่ 5 ภาพแสดงผลกระทบของรังสี UVA, UVB และโอโซนที่มีผลต่อผิวหนัง
รังสี UV ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระและสารที่มีชื่อว่า matalloproteinases (MMP) ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดริ้วรอยเพราะสารทั้งสองจะไปทำลายคอลลาเจนที่ชั้นผิว โชคดีที่ผิวจะมีกลไกในการซ่อมแซมคอลลาเจนที่ถูกทำลาย แต่การได้รับรังสี UV ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระและ matalloproteinases (MMP) ปริมาณมาก จะมีผลต่อการสร้างเซลล์ผิวใหม่ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดริ้วรอย การมี Astaxanthin สามารถลดสารอนุมูลอิสระและปริมาณ matalloproteinases (MMP) และทำให้การสร้างเซลล์ใหม่มีความสมบูรณ์ ริ้วรอยลดลง (รูปที่ 6)
รูปที่ 6 ภาพแสดงการกำจัดสารอนุมูลอิสระโดยใช้ Astaxanthin ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่
Astaxanthin ปกป้องผิวจากจากสารอนุมูลอิสระ
ออกซิเจนในเซลล์สามารถก่อตัวเป็นสารอันตรายที่เรียกว่า สารอนุมูลอิสระ (ROS) หรือแอกทีฟออกซิเจนได้ ถ้าได้รับพลังงานจากรังสี UV มากพอ สารเหล่านี้ได้แก่ สารออกซิเจนโมเลกุลเดียว ซุปเปอร์ออกไซด์ และ ไฮดรอกซิล (ทำให้เกิดสารเปอร์ออกซิล) สารเหล่านี้พยายามที่จะแย่งอิเลกตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงเพื่อทำให้ตัวเองเสถียรเช่น DNA, ฟอสโฟลิพิด เอนไซม์ และโปรตีน
Astaxanthin สามารถจับตัวกับออกซิเจนโมเลกุลเดียวเหล่านี้ และสามารถยับยั้งการเกิด lipid oxidation ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ มาก และควบคุม ROS ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
การต่อต้านการอักเสบ
รอยผื่นแดงหรืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสกับแสงแดด สามารถควบคุมได้โดยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ Yamashita (1995) แสดงให้เห็นจากการทดลองกับผู้ชายจำนวน 7 คน ที่ใช้ Astaxanthin ธรรมชาติทาที่ผิว พบว่าระดับของรอยบวมแดงที่เกิดจากแสงแดดลดลงอย่างชัดเจนถึง 60% ในชั่วโมงที่ 98 หลังจากสัมผัสแสง UVB ขณะนี้เราทราบว่า Astaxanthin ทำงานโดยยับยั้งตัวกลางที่ก่อให้เกิดการอักเสบและCytokines ผ่านทาง IkB kinase โดยขึ้นกับ NF-kB activation pathway (Lee et al., 2003)
ความปลอดภัยในการใช้กับเครื่องสำอางและอาหารเสริม
Astaxanthin ปลอดภัยสำหรับการใช้เป็นเครื่องสำอาง จากจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 45 คน (ทั้งชายและหญิง) ที่รับการทดสอบ Standard Japanese Patch พร้อมรายงานผลในเวลา 24-48 ชั่วโมงหลังการทดสอบ ผิวชั้นนอกนั้นเกิดอาการเนื่องจากพลาสเตอร์กาวเท่านั้น ไม่มีอาการที่เกิดจาก Astaxanthin แต่อย่างใด (Seki et al. 2002) นอกจากนี้ Koura (2005) ยังพบว่าไม่มีอาการทางลบใดๆ ในการสอบ Sensitization ในสัตว์
Astaxanthin อยู่ในรายการ JP Cosmetics และรายชื่อ INCI ในชื่อว่า Haematococcus pluvialis extract
โดยทั่วไปวิธีที่จะลดริ้วรอยก่อนวัยที่เกิดจากแสงแดดนั้น คือ การหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากแสงแดดและการใช้ครีมกันแดดในการปกป้องผิว แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปคนเราไม่สามารถปกป้องผิวได้อย่างดีพอ ดังนั้นการใช้สารแคโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ผลิตภัณฑ์ Astaxanthin สำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางและเป็นอาหารเสริมจะมีคุณสมบัติในการช่วยลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ / ตระกูลแคโรทีนอยด์ (Xanthophyll group / Carotenoid family) พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ เป็นสารสีแดงที่พบในปลาแซลมอน ไข่ปลาคาเวียร์ เปลือกกุ้งปูและ Microalgae Haematococcus Pluvialis ร่างกายไม่สามารถสร้างสารชนิดนี้ได้ เราจะได้รับสารชนิดนี้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป ในปริมาณที่น้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนธิน เพียง 1 มิลลิกรัม
รูปแสดงโครงสร้าง Astaxanthin
รูปแสดงลักษณะ Astaxanthin ที่พบใน Microalgae “Haematococcus Pluvialis”
ความปลอดภัย
เราสามารถบริโภคแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ได้อย่างปลอดภัยเนื่องจากสารชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มานานหลายพันปีแล้ว ตัวอย่างเช่น ในปลาแซลมอนคุณภาพดีจะมีแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) บริสุทธิ์ประมาณ 3 - 6 มิลลิกรัม
มีการทดลองทางคลินิก โดยรับประทานสารแอสตาแซนธิน จาก Microalgae Haematococcus Pluvialis มากถึง 40 มิลลิกรัมเป็นประจำทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆและจากการทดสอบ Full Acute & Sub Chronic, Ames Test & Gene Toxicity และการค้นหาเอกสารทางวิชาการทั่วโลกนั้นไม่พบรายงานที่มีผลข้างเคียงในทางลบ
และจากข้อมูล มีการนำ Microalgae Haematococcus Pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) อยู่เป็นจำนวนมาก นำมาสกัดเป็นอาหารเสริมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่แถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 และสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดตั้งแต่ปีค.ศ. 1999 จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระทางเลือกใหม่ ที่ให้ได้มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ
มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ พบว่า แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้แรงกว่า วิตามิน ซี 6,000 เท่า, CoQ10 800 เท่า, วิตามิน อี 550 เท่า, Green tea catechins 550 เท่า, Alpha lipoic acid 75 เท่า, เบต้า แคโรทีน 40 เท่า และ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า
ประโยชน์ของสารแอสตาแซนธิน
นอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเยี่ยม ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆดังนี้
● ช่วยให้ผิวคงความอ่อนวัย ลดริ้วรอย ความหย่อนคล้อยและจุดด่างดำ
● ช่วยบำรุงสายตา ลดอาการเมื่อยล้าของสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์
● ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกาย
● ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร
● ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก
ใครบ้างที่ควรรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระแอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
● ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
● ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
● ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่นความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
● ผู้ที่ต้องทำงานใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
● นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
แอสตาแซนธิน – แคโรทีนอยด์ แซนโทรฟิลล์
ในธรรมชาติแหล่งแอสตาแซนธินที่เข้มข้นที่สุดพบอยู่ใน Microalgae สีเขียวสายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธินสูงถึง 7% ของน้ำหนักเซลล์แห้ง Microalgae สีเขียวชนิดนี้อยู่ที่ฐานล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร สาหร่ายชนิดนี้มีหน้าที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับแหล่งสารอินทรีย์ธรรมชาติเพื่อผลิตสสารและอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก โดยแอสตาแซนธินจะสะสมอยู่ในถุงไขมันของ Microalgae ในภาวะขาดแคลนสารอาหารและภาวะเครียดจากสิ่งแวดล้อม แอสตาแซนธินทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียสของเซลล์จากรังสียูวีที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ Oxidative Stress ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายดีเอ็นเอของตัวมันเอง และทำให้แหล่งพลังงานที่สะสมไว้เกิดปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดชั่นของไขมัน
อันที่จริงแล้วกิจกรรมทางกายภาพทุกกิจกรรม ไม่ว่า การทำงาน การกีฬา และสันทนาการ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระจะเพิ่มมากขึ้นหากท่านออกแรงเพิ่มขึ้น อนุมูลอิสระจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและการฟื้นตัว การวิจัยมากมาย (ทั้งที่ตีพิมพ์แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งเน้นด้านการเพิ่มความทนทานและการลดเวลาฟื้นสภาพ) แสดงถึงอรรถประโยชน์มากมายที่เกี่ยวข้องกับแคโรทีนอยด์- แอสตาแซนธิน สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ทำให้แอสตาแซนธินกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมระดับแนวหน้าสำหรับนักกีฬามืออาชีพ และผู้ที่มีความกระตือรือร้นด้านกายภาพ เนื่องจากสิ่งที่มีความสำคัญต่อกิจกรรมทางกายภาพ ได้แก่ ไมโตรคอนเดรียในเซลล์ ซึ่งมักนิยมเรียกว่า “สถานีพลังงานของเซลล์” สถานีพลังงานนี้ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกายมากถึง 95% ของพลังงานบริสุทธิ์ (ส่วนใหญ่ได้จากการเผาผลาญไกลโคเจนในกล้ามเนื้อและกรดไขมัน) บางส่วนของพลังงานชนิดนี้จะผลิตสารอนุมูลอิสระที่มีปฏิกิริยาสูงและเป็นอันตรายต่อร่างกาย อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ โดยเหนี่ยวนำการเกิดเพอรอกซิเดชั่นของส่วนประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ และการออกซิเดชั่นของ DNA และโปรตีน อนุมูลอิสระยังมีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยสารอนุมูลอิสระจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของการอักเสบ เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte จะเคลื่อนที่ไปสู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและทำให้เซลล์ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น เราจะรู้สึกถึงกล้ามเนื้อที่เสียหายในระหว่างที่กำลังฟื้นสภาพในรูปแบบของความเมื่อยล้าและความเจ็บปวด นอกจากการปรับปรุงสมรรถภาพของกล้ามเนื้อผ่านการออกกำลังที่มีแบบแผนแล้ว ในวงการวิจัยทางการกีฬาอยู่ระหว่างการค้นคว้าหาวิธีการอื่นๆ เช่น คิดค้นสารอาหารที่เป็นพลังงานและปกป้องร่างกายจากการออกกำลังกายอย่างหนัก เป็นต้น ในอดีตวิตามิน E และ C นิยมใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อต้านการทำลายเซลล์ที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นระหว่างทำกิจกรรมทางกายภาพ แต่ในปัจจุบันรายงานการวิจัยชี้ให้เห็นว่า แอสตาแซนธินเป็นทางเลือกของสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับสมรรถภาพทางกีฬา
แอสตาแซนธินแสดงคุณประโยชน์ทางกายภาพที่สำคัญ 2 ประการในการศึกษาทางคลินิกและการศึกษาสนับสนุนต่างๆ แอสตาแซนธินช่วยเพิ่มความทนทานและลดความเสียหายของกล้ามเนื้อในสัตว์ทดลอง
คุณรู้หรือไม่
นักกีฬาที่ทำกิจกรรมซึ่งอาศัยความทนทานระดับ 70% VO2 max (อัตราการใช้ออกซิเจนที่มากที่สุด)อาจก่อให้เกิดอัตรา ROS ภายในที่สูงกว่า 12 เท่า พบในเซลล์เดียวกันในขณะการพักผ่อน หรือ นอนหลับ
ความทนทาน
ในปี 1998 Malmsten (สถาบัน Karolinska, ประเทศสวีเดน) ทำศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้งสองฝ่ายร่วมกับการใช้ยาหลอกในผู้ชายสุขภาพดีซึ่งได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาแซนธินขนาด 4 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน การทดสอบการออกกำลังกายแบบมาตรฐานแสดงให้เห็นว่า ค่าเฉลี่ยแล้วจำนวนครั้งของการย่อเข่าเพิ่มขึ้นเฉพาะกลุ่มทดลองที่ได้รับแอสตาแซนธินเป็นเวลา 3 เดือน และเมื่อได้รับเป็นเวลา 6 เดือนกลุ่มทดลองจะสามารถย่อเข่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (รูปที่ 1) การค้นพบนี้แสดงว่าแอสตาแซนธินช่วยเพิ่มระดับความทนทานของร่างกายได้นั่นเอง นอกจากนี้ Sawaki และคณะ(2002) แห่งมหาวิทยาลัยจุนเทนโด ประเทศญี่ปุ่น ทำการวิจัยนักกรีฑาประเภทลู่วิ่ง 1200 เมตร ซึ่งได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าร่างกายของนักกีฬามีกรดแลคติกน้อยลง (รูปที่ 2) เมื่อร่างกายทำกิจกรรมที่ต้องใช้พละกำลังมหาศาลนั้น กรดแลคติกจะเกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานแบบไม่ใช้อากาศ หรือเกิดจากภาวะที่ออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของกล้ามเนื้อ ภายใต้สภาวะดังกล่าวหากระดับกรดแลกติกของร่างกายลดต่ำลง จะหมายถึงความสามารถด้านความทนทานของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น (รูปที่1และ 2)
รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงด้านความแข็งแรง/ความอดทน
แอสตาแซนธินเพิ่มความแข็งแรง/ความทนทาน เปรียบเทียบผลเมื่อรับประทานแอสตาแซนธินเป็นเวลา 0, 3 และ 6 เดือนและทดสอบค่าเฉลี่ยของจำนวนการย่อเข่าของแต่ละคน
รูปที่ 2 การลดการสร้างกรดแลคติกภายหลังจากการให้แอสตาแซนธินเสริมในอาสาสมัครที่เป็นนักกีฬาประเภทลู่ (กลุ่ม B)
กลไกการออกฤทธิ์
Aoi และคณะ (2003) จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ใช้หนูขนาดเล็กเป็นแบบจำลองในการทดสอบซึ่งอาจอธิบายประสิทธิภาพของแอสตาแซนธินได้บางส่วน พวกเขาทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธินภายหลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก การวิเคราะห์โดยการย้อมเซลล์กล้ามเนื้อน่องและกล้ามเนื้อหัวใจพบว่าการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์จากปฏิกิริยาเพอรอกซิเดชั่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตัวบ่งชี้ทางชีวเคมีซึ่งแสดงปริมาณการทำลาย DNA (8-OHdG) และโปรตีน (4-hydroxy-2-nonenal modified-proteins) มีปริมาณลดลงในกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน (รูปที่ 3) ในขณะเดียวกันการถูกทำลายของกล้ามเนื้อส่วนอื่นและข้อบ่งชี้ของการอักเสบแสดงถึงการปรับลดของครีเอทีนไคเนส (รูปที่ 4)และแอคติวิตีของเอนไซม์ myeloperoxidase (รูปที่ 5 ) ผลเหล่านี้แสดงว่า แอสตาแซนธินมีส่วนช่วยป้องกันส่วนประกอบของเซลล์กล้ามเนื้อและลดกระบวนการอักเสบ การศึกษาของ Lee และคณะ (2003) อธิบายว่า แอสตาแซนธินมีผลโดยตรงต่อการปรับลดลงการอักเสบซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการหลั่งสารก่อการอักเสบไซโตไคน์และสารสื่อกลาง การทดสอบในสิ่งมีชีวิตและในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่า แอสตาแซนธินช่วยยับยั้ง IκB Kinase (IKK) dependant activation ของ Nuclear Factor-kB (NF-κB) pathway ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของขั้นตอนการผลิตสารก่อการอักเสบและสารสื่อกลางการอักเสบ (รูปที่ 3 4 5)
รูปที่ 3 ความเสียหายของ DNA
แอสตาแซนธินลดความเสียหายของ DNA ในกล้ามเนื้อภายหลังจากกิจกรรมที่ร่างกายต้องออกแรงมาก
รูปที่ 4 ความเสียหายของเยื่อหุ้มเซลล์
แอสตาแซนธินลดความเสียหายของเยื่อหุ้มเซลล์ภายหลังจากกิจกรรมที่ร่างกายต้องออกแรงมาก
รูปที่ 5 การอักเสบ
แอสตาแซนธิน ชุดควบคุม
การอักเสบของกล้ามเนื้อลดลงด้วยการใช้แอสตาแซนธิน ภายหลังจากกิจกรรมที่ร่างกายต้องออกแรงมาก
อนาคต
แอสตาแซนธินสามารถใช้เป็นอาหารเสริมของนักกีฬา เพื่อเพิ่มความทนทานและลดความเสียหายของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมหรือกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังมาก ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นักกีฬาหลายกลุ่มอาจสามารถรักษาหรือเพิ่มระดับความสามารถด้านการแข่งขันและความพร้อมของร่างกายได้
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีข้อมูล ระบบซอฟแวร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่นำไปสู่การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับจอแสดงภาพ (Visual Display Terminal - วีดีที) มากขึ้นโดยเฉพาะเพื่อการทำงานและเพื่อการพักผ่อน วีดีทีจัดว่ามีความสำคัญเพราะช่วยสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์ และวีดีทีก่อให้เกิดปัญหาที่พบในวงการจักษุแพทย์ เนื่องจากผู้ใช้งานวีดีทีมักเกิดอาการอ่อนล้าของดวงตา และมักมีอาการปวดกระบอกตาและอาการปวดศีรษะ อาการเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของการศึกษามากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น การศึกษาด้านระบาดวิทยาในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเมื่อยล้าของดวงตา มีบางศึกษาเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยถึง 6,000 คน ซึ่งช่วยจำแนกสาเหตุของอาการข้างต้นดังนี้: แสงไม่เพียงพอ สรีระศาสตร์ที่ไม่ดีพอ และการใช้สายตาที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น แม้ว่าจะมีข้อมูลมากขึ้นแต่การติดตามล่าสุดพบว่า การปรับปรุงแก้ไขปัจจัยดังกล่าวได้ผลกับผู้ป่วยเพียง 50% ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น
คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ อาจมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกค้นพบในปัจจุบัน การปรับปรุงแก้ไขที่ยังไม่เพียงพอ หรืองานที่ต้องใช้สายตาเพิ่มขึ้น เป็นไปได้ว่าสาเหตุของอาการข้างต้นอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ รวมกัน ทำให้การแก้ปัญหาในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา
ลักษณะของอาการเมื่อยล้าของดวงตาเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงที่กระทบเข้าดวงตา ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เจ็บตา และการมองเห็นไม่ชัด จากแบบสอบถามมาตรฐานที่ใช้สำหรับประเมินอาการเมื่อยล้าทางสายตาของผู้ป่วย มักให้ผลสรุปว่าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที การทดสอบทางจักษุวิทยาสามารถตรวจจับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายตาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ความสมบูรณ์ในการปรับโฟกัสของสายตา อัตราของปฏิกิริยาการเพ่งของสายตา (ทิศทางบวกและลบ) การรับรู้ของสมองหลังจากประสาทตาได้ส่งสัญญาณไปถึง (CFF) และรูปแบบศักยภาพด้านการมองเห็น (PVEP) จากงานศึกษาทางคลินิกของชาวญี่ปุ่น 9 เรื่องซึ่งดำเนินการโดยองค์กรด้านจักษุวิทยา 6 แห่ง (ดำเนินงานเป็นอิสระต่อกัน) สามารถสรุปประสิทธิภาพของแอสตาแซนธินในด้านการบรรเทาอาการปวดกระบอกตา โดยแอสตาแซนธินช่วยปรับโฟกัสของสายตาให้ดีขึ้น และช่วยฟื้นสภาพของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (รูปที่ 1); ระบบไหลเวียนเลือดไปที่เรตินอล
รูปที่1 ตำแหน่งของกล้ามเนื้อปรับสายตาในดวงตาของมนุษย์
อาการเมื่อยล้าของดวงตา
อาการปวดกระบอกตา หรือที่เรียกกันว่าอาการเมื่อยล้าสายตามักเกิดขึ้นในวงจรชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปสมรรถภาพการมองเห็นของดวงตาจะลดลงตามธรรมชาติจากช่วงเช้าจนถึงกลางคืน ปัญหานี้จะเพิ่มมากขึ้นหากคุณต้องใช้งานวีดีที 4-7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการปรับโฟกัสของสายตาของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาซึ่งควบคุมการหด-ขยายของเลนส์ การศึกษาแบบสุ่มซึ่งปกปิดการรักษาทั้งสองฝ่ายร่วมกับการใช้ยาหลอก แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านบวกของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาแซนธินที่มีต่อประสิทธิภาพการมองเห็นของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดย Nagaki และคณะ (2002) พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 13 คน ซึ่งได้รับแอสตาแซนธิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ลดการบ่นถึงอาการเมื่อยล้าสายตาลง 54% (รูปที่ 2) การศึกษาด้านการมองเห็นทางด้านกีฬาโดย Sawaki และคณะสรุปว่า การบอกระยะวัตถุและการรับรู้ของสมองภายหลังที่ประสาทตาได้ส่งสัญญาณไปถึง (critical flicker fusion) ดีขึ้น 46% และ 5% ตามลำดับ หลังจากรับประทานแอสตาแซนธินวันละ 6 มิลลิกรัม จำนวน 9 คน ทั้งนี้ผลของแอสตาแซนธินต่อประสิทธิภาพการมองเห็นกระตุ้นให้เกิดการศึกษาทางคลินิกด้านอื่นๆ เป็นจำนวนมาก โดยต่างก็มุ่งหวังจะประเมินปริมาณที่เหมาะสมที่สุดและจำแนกกลไกการออกฤทธิ์
รูปที่ 2 ผู้ป่วยที่ใช้ VDT และมีอาการเครียดทางสายตา ก่อนและหลังการได้รับแอสตาแซนธิน
พบว่า มีอาการดีขึ้น จากการตอบแบบสอบถาม ในสัปดาห์ที่ 4
การลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา
การศึกษาโดย Nakamura (2004) แสดงให้เห็นถึงการลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาอย่างมีนัยสำคัญและให้ผลบวกในกลุ่มที่ได้รับยาขนาด 4 มิลลิกรัม (p<0.05) และ 12 มิลลิกรัม (p<0.01) Nitta และคณะ (2005) เป็นผู้ริเริ่มการกำหนดขนาดของแอสตาแซนธินที่ควรได้รับในแต่ละวัน คือ 6 มิลลิกรัม จำนวน 10 คน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นจึงเปรียบเทียบอาการเมื่อยล้าของดวงตาโดยใช้แบบประเมินระดับความเจ็บปวดซึ่งอ้างอิงจากแบบสอบถามและค่าที่ได้รับจากการประเมิน กล่าวคือกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ณ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของการทดสอบ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาของ Shiratori และคณะ (2005) และ Nagaki และคณะ (2006) ต่างยืนยันว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัมติดต่อกัน 4 สัปดาห์ช่วยลดอาการเมื่อยล้าสายตา อาการเจ็บตา อาการตาแห้ง และการมองเห็นไม่ชัด การศึกษาของ Takahashi และ Kajita (2005) แสดงผลเช่นเดียวกันว่าแอสตาแซนธินช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา (ตรงข้ามกับการรักษาอาการเมื่อยล้าของดวงตา) จึงแนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันมากกว่าใช้เพื่อการรักษา โดยกลุ่มที่รับการรักษาด้วยแอสตาแซนธิน (กลุ่มที่ไม่มีอาการเมื่อยล้าของดวงตา) สามารถฟื้นตัวได้ไวกว่ากลุ่มควบคุมหลังจากถูกกระตุ้นการมองเห็นอย่างหนัก
เนื่องจากแบบสอบถามอาจมีข้อจำกัดสำหรับแต่ละบุคคล ดังนั้นการวัดผลปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมื่อยล้าของดวงตาโดยตรงจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีกว่า ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงระยะการปรับโฟกัสของตา (รูปที่3); อัตราของปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตา (ทิศทางบวกและลบ) การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางด้านการมองเห็น และการสื่อประสาทของระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า การปรับระดับโฟกัสของตาปรับตัวดีขึ้นหลังจากการรักษา (Nagaki และคณะ 2002, 2006; Nakamura และคณะ 2004; Takahashi และ Kajita, 2005; Shiratori และคณะ, 2005; Nitta และคณะ, 2005) อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางด้านการมองเห็นและการสื่อประสาทของระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น (Sawaki และคณะ 2002; Nagaki และคณะ 2002; Nakamura และคณะ 2004) ดังนั้นกลไกของแอสตาแซนธินด้านการลดความเมื่อยล้าของสายตา คือ การปรับโฟกัสของตา
รูปที่ 3 การปรับโฟกัสของตาในการมองวัตถุ (Nitta และคณะ, 2005)พบว่า
การปรับโฟกัสของตาในการมองวัตถุดีขึ้นเมื่อรับประทานแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัม
กลไกการออกฤทธิ์: ปรับปรุงระยะการปรับโฟกัสของตา เพิ่มการไหลเวียนเลือด และต้านการอักเสบ
การวัดระยะการปรับโฟกัสของตาจะตรวจวัดคุณสมบัติการหักเหของเลนส์ โดยสอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา กล้ามเนื้อลูกตามัดเล็กๆ ทำหน้าที่ควบคุมความหนาของเลนส์เพื่อปรับโฟกัสแสงบนจอประสาทตา หากมีการใช้สายตาอย่างหนักดวงตาจะโฟกัสบนระยะวัตถุคงที่เป็นระยะเวลานานทำให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือเกิดความเมื่อยล้า ซึ่งตรวจพบได้จากการทดสอบระยะการปรับโฟกัสของตา การทดสอบเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้: ระยะการปรับโฟกัสของตา ปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตา (ทิศทางบวกและลบ) และองค์ประกอบที่มีความถี่สูง การศึกษาทางคลินิกผสมผสานการทดสอบระยะการปรับโฟกัสของตา เพื่อแสดงถึงปริมาณของอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้น เช่น การเพิ่มระยะการปรับโฟกัสของตาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แสดงถึงปฏิกิริยาที่ดีขึ้นต่อการมองวัตถุทั้งระยะใกล้และระยะไกล (Nagaki และคณะ 2002, 2006; Nakamura และคณะ, 2004) รูปที่ 4 และ รูปที่ 5 เกี่ยวข้องกับอัตราของปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตาที่เร็วขึ้นจากการตรวจวัดในกลุ่มที่รักษาด้วยแอสตาแซนธิน
รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงในการปรับโฟกัสของตาในทิศทางบวก (Shiratori และคณะ, 2005)
พบว่า การปรับโฟกัสของตาในทางบวกดีขึ้น เมื่อได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัม
รูปที่ 5 การปรับโฟกัสของตาในทิศทางลบ (Shiratori และคณะ, 2005)
พบว่า การปรับโฟกัสของตาในทิศทางลบดีขึ้นเมื่อรับประทานแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัม
สิ่งเหล่านี้แสดงถึงระดับความเร็วของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา ต่อการเปลี่ยนทิศทางจุดโฟกัส (ผลบวกหมายถึงระยะวัตถุที่อยู่ใกล้ 35 เซนติเมตร ถึงระยะวัตถุที่อยู่ใกล้ 5 เมตร หรือในทำนองเดียวกัน) (Nitta และคณะ 2005; Shiratori และคณะ 2005; Nakamura และคณะ 2005)่งชี้จากระยะการปรับโฟกัสของตา ้นการมองเห็นอย่างหนัก
ผลจากแอสตาแซนธินจะแสดงอย่างมีนัยสำคัญนับจาก 2 สัปดาห์ เทคนิคอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า HFC ซึ่งจะตรวจวัดความผันผวนระดับจุลภาคของเลนส์ ระหว่างการตอบสนองต่อระยะการปรับโฟกัสของตาโดยตรง (ค่าปกติสำหรับระดับสายตาปกติอยู่ระหว่าง 50– 60) ผู้ที่มีอาการปวดกระบอกตาซึ่งมีค่ามากกว่า 60 จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว (รูปที่ 6) โดยที่ผล HFC ของผู้ป่วยเหล่านี้จะลดลงจนถึงระดับปกติอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Takahashi และ Kajita 2005)
รูปที่ 6 การฟื้นตัวด้านการปรับโฟกัสของตาซึ่งสังเกตจากความแตกต่างที่ตรวจวัดด้วยเทคนิค HFC (Takahashi และ Kajita, 2005) พบว่า แอสตาแซนธิน ช่วยในการฟื้นตัวด้านการปรับโฟกัสของตาซึ่งตรวจวัดด้วยเทคนิค HFC ระหว่างช่วงการพักภายหลังจากการทำงานที่ใช้สายตา
การศึกษาแบบสุ่มร่วมกับยาหลอกโดย Nagaki และคณะ (2005) ตรวจพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณการไหลเวียนเลือดบริเวณเรตินาในกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 14 คน (p<0.01) เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงเกี่ยวกับการปรับปรุงระยะการปรับโฟกัสของตาซึ่งเกิดจากแอสตาแซนธินยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงตั้งสมมติฐานว่า อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงสภาพการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้นซึ่งตรวจสอบได้จากหลอดเลือดฝอยของเรตินา ซึ่งเสมือนว่ามีเลือดหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การปรับปรุงสภาพการไหลดังกล่าวยังสอดคล้องกับการศึกษาของ Nagaki และคณะ (2005) ซึ่งศึกษาอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 10 คน และได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 10 วัน (รูปที่ 7) ตรวจพบอัตราการไหลเวียนเลือด (ex-vivo) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) ซึ่งผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Micro-array channel flow analyzer (MC- FAN)
รูปที่ 7 การเพิ่มการไหลของเลือดในจอประสาทตา (Nagaki et al., 2005)
พบว่า การไหลเวียนของเลือดในจอประสาทตาเพิ่มขึ้นเมื่อใช้สารแอสตาแซนธินเป็นเวลา 4 สัปดาห์
ผลการวิจัยล่าสุด ด้านจักษุวิทยาของญี่ปุ่นซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ฮอกไกโด โยโกฮาม่า และเกียวโต สรุปคุณสมบัติด้านการต้านการอักเสบของแอสตาแซนธินที่เกี่ยวกับสารเอนโดทอกซิน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคม่านตาอักเสบ (EIU หรือ การอักเสบของตา) ทั้งแบบทดลองในสิ่งมีชีวิตและในหลอดทดลอง Ohgami และคณะ (2003) พบว่าการทดลองให้ปริมาณของแอสตาแซนธิน 1, 10 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในหนู จำนวน 8 ตัว (p<0.01) ช่วยลดการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์ (NOS) พรอสตาแกลนดิน E2 (PGE2) และ ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ (TNF)-α ขณะที่ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพอื่นๆ ที่ลดลง ได้แก่ การซึมน้ำของเซลล์ และการสร้างโปรตีนในของเหลวในช่องลูกตา
การศึกษาของ Suzuki และคณะ (2006) ยืนยันถึงประสิทธิภาพของแอสตาแซนธิน พวกเขาทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของแอสตาแซนธินที่ม่านตาและกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาในดวงตาของหนู การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการศึกษาครั้งแรกซึ่งพิสูจน์ว่า แอสตาแซนธินออกฤทธิ์ลดการกระตุ้น NF-kB ด้วยอนุมูลอิสระใน EIU Rat Model (รูปที่ 8) โดยผลการทดลองพบว่า การตอบสนองของปฏิกิริยาก่อนการอักเสบลดลง มิเช่นนั้นแล้วบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบอย่างถาวร การศึกษาครั้งนี้ช่วยอธิบายว่า เหตุใดแอสตาแซนธินจึงช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าทางสายตาซึ่งพบในการศึกษาทางคลินิกต่างๆ
รูปที่ 8 จำนวนของเซลล์ NF-kB ในกล้ามเนื้อปรับสายตาในช่วงที่อักเสบ (Suzuki และคณะ 2006) พบว่า แอสตาแซนธินลดจำนวนของเซลล์ที่อักเสบในกล้ามเนื้อปรับสายตา
แอสตาแซนธินต้องผ่านทะลุเข้าผนังกั้นเส้นเลือดที่เรตินาของมนุษย์ (BRB) ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดโดยตรงเนื่องจากยังไม่มีวิธีวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม BRB จัดเป็นผนังกั้นแบบเลือกผ่านที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับผนังกั้นเลือดในสมอง (BBB) ดังนั้นจึงคาดหวังว่า แอสตาแซนธินจะสามารถทะลุผ่านผนังกั้นแบบเลือกผ่านเนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กกว่า 600 ดาลตัน แอสตาแซนธินเป็นสารแคโรทีนอยด์ กลุ่มแซนโทฟิลล์ เช่นเดียวกับลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งตรวจพบมากที่จอประสาทของดวงตา (แซนโทฟิลล์เป็นแคโรทีนอยด์เพียงกลุ่มเดียวที่พบในดวงตา ต่างจากเบต้า-แคโรทีน หรือไลโคปีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มแคโรทีน)
อนาคต
อาการเมื่อยล้าของดวงตาเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปหากเราใช้งานวีดีทีอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไป บางครั้งอาจแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์หาสาเหตุ ผ่านการศึกษาทางระบาดวิทยาซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก อย่างไรก็ตามหากแนวโน้มของการปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบันมีความสำเร็จเพียง 50% และอาจมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องอีก ดังนั้น แอสตาแซนธินจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการลดอาการอักเสบ การปรับปรุงการปรับระยะโฟกัสของสายตา และการเพิ่มการไหลเวียนเลือด
References
1. Nishida Y.et.al, Quenching Acitivities of Common Hydrophillic and Lipophillic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science 11: 16-20 (2007)
2. Miki, W., Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure and Appl.Chem 1991 ; 63:141-6
3. Shimizu, N., et al., Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Sci. 1996; 62: 134-7
4. Fuji Chemical Industry Co., Ltd., Outsourced test by Collaborative Labs, Setauket, NY 2001
5. Yamashita,(2006) The Effects of Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science 10:91-95
6. Nagaki et al., (2006) .The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia.J.Clin. Therap.Med.,22(1):41-54.
7. Sawaki,K.et al.(2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans.Journal of Clinical Therapeutics & Medicine 18(9):73-88.
8. Kupcinskas et al., Efficacy of the antioxidant astaxanthin in the treatment of functional dyspepsia in patients with or without Helicobacter pylori gastritis: a propective, randomized ,double blind, and placebo controlled study .Eur.J.Gastroent and Hepat.,(In Press).
9. Hiroshige Itakura, Astaxanthin Defends and Subdues Active Oxygen, Heart publishing co.,ltd, 21.
วันที่: Fri Jan 10 16:22:56 ICT 2025
|
|
|